เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 6. กุฎิการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

[350] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างกุฎีที่
ไม่มีเจ้าของสร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ด้วยการขอเอาเอง ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์
ตรวจดูพื้นที่สร้างกุฎี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ให้ตรวจดู
พื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างกุฎีที่ไม่มีเจ้าของ
สร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ด้วยการขอเอาเอง ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์ตรวจดูพื้นที่
สร้างกุฎี สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ให้ตรวจดูพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ให้ตรวจดูพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้และชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งให้ตรวจดูพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

วิธีแสดงพื้นที่

[351] ภิกษุทั้งหลายที่ได้รับแต่งตั้งเหล่านั้น ต้องไปที่นั้นแล้วพึงตรวจดู
พื้นที่สร้างกุฎี ให้รู้ว่า เป็นพื้นที่มีอันตรายเป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ถ้าเป็นพื้นที่มีอันตรายทั้งไม่มีบริเวณโดยรอบ
พึงบอกภิกษุรูปนั้นว่า “อย่าสร้างในที่นี้” ถ้าเป็นพื้นที่ไม่มีอันตรายทั้งมีบริเวณโดย
รอบพึงบอกสงฆ์ว่า “เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย ทั้งมีบริเวณโดยรอบ” ภิกษุผู้จะสร้างกุฎี
นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า นั่งกระโหย่ง
ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องการสร้างกุฎีที่ไม่มีเจ้าของสร้าง
ถวาย สร้างเป็นของส่วนตัวด้วยการขอเอาเอง กระผมขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างกุฎี”
พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลายดังนี้เป็นครั้งที่ 2 พึงกล่าวขอภิกษุทั้งหลายดังนี้เป็นครั้งที่ 3

กรรมวาจาขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างกุฎี

ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ดังนี้
[352] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างกุฎีที่
ไม่มีเจ้าของสร้างถวายสร้างเป็นของส่วนตัว ด้วยการขอเอาเอง ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 6. กุฎิการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

แสดงพื้นที่สร้างกุฎี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงไปแสดงพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้
นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ต้องการจะสร้างกุฎีที่ไม่มีเจ้าของ
สร้างถวาย สร้างเป็นของส่วนตัว ด้วยการขอเอาเอง ภิกษุนั้นขอให้สงฆ์แสดงพื้นที่
สร้างกุฎี สงฆ์แสดงพื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดง
พื้นที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึง
ทักท้วง
พื้นที่สร้างกุฎี สงฆ์แสดงให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
[353] ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่มีอันตราย คือ เป็นที่อยู่ของมด เป็นที่อยู่ของปลวก
เป็นที่อยู่ของหนู เป็นที่อยู่ของงู เป็นที่อยู่ของแมลงป่อง เป็นที่อยู่ของตะขาบ เป็น
ที่อยู่ของช้าง เป็นที่อยู่ของม้า เป็นที่อยู่ของราชสีห์ เป็นที่อยู่ของเสือโคร่ง เป็นที่อยู่
ของเสือเหลือง เป็นที่อยู่ของหมี เป็นที่อยู่ของสุนัขป่า หรือเป็นที่อยู่ของสัตว์
ดิรัจฉานบางเหล่า อยู่ใกล้นา อยู่ใกล้สวน อยู่ใกล้ตะแลงแกง อยู่ใกล้ที่ทรมานนักโทษ
อยู่ใกล้สุสาน อยู่ใกล้อุทยาน อยู่ใกล้ที่หลวง อยู่ใกล้โรงช้าง อยู่ใกล้โรงม้า อยู่ใกล้
เรือนจำ อยู่ใกล้โรงสุรา อยู่ใกล้ร้านขายเนื้อ อยู่ใกล้ถนน อยู่ใกล้ทางสี่แยก อยู่ใกล้
ที่ประชุม หรืออยู่ใกล้ทางเดิน นี่ชื่อว่า พื้นที่มีอันตราย
ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวตามปกติไม่
สามารถวนไปได้ บันไดไม่สามารถจะทอดเวียนไปได้โดยรอบ นี่ชื่อว่า พื้นที่ไม่มี
บริเวณโดยรอบ
ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย คือ ไม่ใช่ที่อยู่ของมด ไม่ใช่ที่อยู่ของปลวก
ไม่ใช่ที่อยู่ของหนู ไม่ใช่ที่อยู่ของงู ไม่ใช่ที่อยู่ของแมลงป่อง ไม่ใช่ที่อยู่ของตะขาบ ฯลฯ
ไม่ใกล้ทางเดิน นี่ชื่อว่า พื้นที่ไม่มีอันตราย
ที่ชื่อว่า เป็นพื้นที่มีบริเวณโดยรอบ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวตามปกติ
สามารถวนไปได้ บันไดสามารถทอดเวียนไปได้โดยรอบ นี่ชื่อว่า พื้นที่มีบริเวณ
โดยรอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :386 }